การป้องกันสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร ความท้าทายที่โรงงานผลิตอาหารต้องเจอ

การทำธุรกิจประเภทโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหาร หนึ่งในปัญหาที่มักพบเจอและสร้างความน่ากังวลใจอยู่บ่อยครั้งนั่นคือ “การเกิดสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร” เปรียบได้กับจุดด้อยที่ต้องรีบหาวิธีจัดการป้องกันความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งเรื่องของคุณภาพสินค้า ผลกระทบต่อผู้บริโภค ความท้าทายของโรงงานผู้ผลิตและนำเข้าที่ต้องใส่ใจทุกขั้นตอน ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าว

ที่มาของสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร

หากลองมองไปถึงที่มาหรือจุดเริ่มต้นของการเกิดสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร ส่วนใหญ่มักเกิดจากสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรคต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับวัตถุดิบสำหรับใช้ในการผลิตเป็นสารปรุงแต่งหรือเคมีอาหาร เช่น 

  • น้ำหรือเชื้อโรคจากอาหารดิบที่ถูกส่งเข้ามาใช้งาน เช่น น้ำทะเล หนอน เชื้อโรคในผัก ผลไม้ เป็นต้น
  • สิ่งสกปรกจากเครื่องจักรการผลิตที่ขาดการทำความสะอาด หรือมีขั้นตอนทำความสะอาดไม่ถูกต้องตามหลัก
  • สัตว์ แมลง ที่เล็ดลอดเข้ามาในกระบวนการผลิต หรือในการจัดเก็บวัตถุดิบ จัดเก็บสินค้าก่อนจำหน่าย เช่น ยุง แมลงวัน แมลงหวี่ มด หนอน ซึ่งในกรณีนี้รวมถึงอุจจาระ สิ่งสกปรกต่าง ๆ จากตัวมันด้วย
  • สารเคมีที่ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องจักร ทำความสะอาดวัตถุดิบก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการผลิตเคมีอาหาร
  • การป้องกันที่หละหลวมหรือไม่ได้มาตรฐานจนทำให้เชื้อโรค ไวรัส สิ่งสกปรกต่าง ๆ จากผู้ปฏิบัติงานเข้าไปอยู่ในกระบวนการผลิต
Gloved staff of seafood plant checking weight of smoked sardine pieces before canning

ความท้าทายและมาตรฐานป้องกันสารปนเปื้อนเคมีอาหารของโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหาร

จากที่มาของสารปนเปื้อนทางเคมีอาหารเหล่านั้นถือเป็นความท้าทายที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องวางแผน จัดการระบบป้องกัน ตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าจะช่วยลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดระหว่างขั้นตอนการผลิตหรือการจัดเก็บมากที่สุด โดยมาตรการเบื้องต้นที่อยากแนะนำให้ลองนำไปปรับใช้ มีดังนี้

  • เก็บวัตถุดิบและสินค้าที่ผลิตเรียบร้อยแล้วในพื้นที่มิดชิด ปิดสนิท มีอุณหภูมิเหมาะสม เพื่อช่วยคงคุณภาพของสิ่งเหล่านั้นเอาไว้ ไม่ส่งผลเสียจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศ สัตว์ แมลง ฯลฯ
  • เก็บสารเคมี หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ให้อยู่คนละที่กับวัตถุดิบ หรือสิ่งที่จะถูกนำมาใช้ในขั้นตอนผลิต เพื่อลดการปนเปื้อนสารเคมีเหล่านั้นในปริมาณมากเกินไป 
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบริเวณต่าง ๆ ของโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเครื่องจักร ห้องจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้า 
A quality assurance specialist in water production examines and records information about conveyor operations to ensure proper timing and uninterrupted flow throughout the manufacturing process.

ในฐานะที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารจึงเสมือนเป็นหัวเรื่องใหญ่ในการดูแลด้านสุขอนามัยของสินค้าต่อผู้บริโภค จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าย่อมมีบทบาทในการควบคุม วางแผน และดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก หรือแม้แต่เคมีอาหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในปริมาณมากเกินไป เพื่อสร้างระบบการผลิตและจำหน่ายที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ไม่สร้างอันตรายหรือผลข้างเคียงใด ๆ ภายหลัง