GENERAL KNOWLEDGE
ARTICLE
GRNERAL KNOWLEDGE
ARTCLE

การป้องกันสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร ความท้าทายที่โรงงานผลิตอาหารต้องเจอ
การทำธุรกิจประเภทโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหาร หนึ่งในปัญหาที่มักพบเจอและสร้างความน่ากังวลใจอยู่บ่อยครั้งนั่นคือ “การเกิดสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร” เปรียบได้กับจุดด้อยที่ต้องรีบหาวิธีจัดการป้องกันความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งเรื่องของคุณภาพสินค้า ผลกระทบต่อผู้บริโภค ความท้าทายของโรงงานผู้ผลิตและนำเข้าที่ต้องใส่ใจทุกขั้นตอน ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าว ที่มาของสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร หากลองมองไปถึงที่มาหรือจุดเริ่มต้นของการเกิดสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร ส่วนใหญ่มักเกิดจากสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรคต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับวัตถุดิบสำหรับใช้ในการผลิตเป็นสารปรุงแต่งหรือเคมีอาหาร เช่น ความท้าทายและมาตรฐานป้องกันสารปนเปื้อนเคมีอาหารของโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหาร จากที่มาของสารปนเปื้อนทางเคมีอาหารเหล่านั้นถือเป็นความท้าทายที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องวางแผน จัดการระบบป้องกัน ตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าจะช่วยลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดระหว่างขั้นตอนการผลิตหรือการจัดเก็บมากที่สุด โดยมาตรการเบื้องต้นที่อยากแนะนำให้ลองนำไปปรับใช้ มีดังนี้ ในฐานะที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารจึงเสมือนเป็นหัวเรื่องใหญ่ในการดูแลด้านสุขอนามัยของสินค้าต่อผู้บริโภค จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าย่อมมีบทบาทในการควบคุม

ทริคดี ๆ ในการใช้สารปรุงแต่งอาหารที่ผู้ประกอบการต้องรู้
สารปรุงแต่งอาหาร คือ วัตถุดิบที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ในการปรุงรสอาหาร สร้างรสชาติอันน่าพึงพอใจตามความต้องการของผู้บริโภค หรือมีส่วนทำให้อาหารดูน่าทาน ยืดอายุให้ยาวนาน สามารถใช้ได้กับทั้งการปรุงอาหารสด ๆ จากเตา เช่น ร้านอาหาร ครัวเรือนทั่วไป และใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นการรู้จักทริคดี ๆ สำหรับใช้งานอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ไม่ส่งผลเสียต่อทั้งตนเองและผู้บริโภค ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละรูปแบบเองก็มีความเหมาะสมต่อการใช้งานแตกต่างกันออกไป ดังนี้

Effects of Non-Phosphate & Phosphates on the Seafood Industry
In the modern seafood industry, phosphates are commonly used as additives to improve the quality and shelf-life of products. However, increasing consumer concerns about food

หลักเกณฑ์ มาตรฐานพื้นฐานที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องมี
ในการทำธุรกิจโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารไม่ใช่ใครจะดำเนินการก็ได้แต่ต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน รวมถึงเข้าใจระเบียบพื้นฐานที่ทางโรงงานต้องมีเพื่อเป็นการยืนยันถึงคุณภาพทั้งในด้านความปลอดภัยต่อผู้ผลิตที่จะนำไปใช้ส่งต่อจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย และที่สำคัญเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสารเคมีที่ต้องใช้ในอาหารทุกชนิดถูกผลิตและนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ลองมาศึกษากันว่ามาตรฐานเบื้องต้นที่ต้องมีประกอบด้วยอะไรบ้าง หลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารคืออะไร หลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร คือ ตัวกำหนดพร้อมแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยควบคุม ป้องกัน ไม่ให้ปัจจัยอื่นใดสร้างความอันตรายให้กับอาหารตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างวัตถุดิบ กระบวนการผลิตอาหาร ส่งต่อจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรงจำเป็นต้องมีสิ่งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงมาตรฐานของโรงงาน หลักเกณฑ์พื้นฐานที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องมี 1. มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) ถือเป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าทุกประเภทที่ผู้บริโภคต้องสัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกาย ควบคุมกระบวนการผลิตอาหาร ยา เครื่องสำอาง และสินค้าประเภทอื่น

Why Use Phosphate for Seafood?Understanding the Science of this Magical Potion
The seafood industry is consistently evolving. New technologies and additive substitutes play a crucial role in maintaining quality and safety. One such additive that has

สารปรุงแต่งอาหารที่อนุญาตให้ใส่ในอาหาร และพบได้บ่อยทั่วไป
ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้งานสารปรุงแต่งอาหารเพื่อช่วยในเรื่อง สี กลิ่นและรสชาติ ทั้งเป็นการเพิ่มขึ้นมาใหม่ หรือกระตุ้นสิ่งที่มีอยู่เดิมจากวัตถุดิบให้โดดเด่นมากขึ้นก็ตาม มากไปกว่านั้นยังมีส่วนช่วยถนอมอาหารได้อีกด้วย คำถามคือมีสารปรุงแต่งประเภทไหนบ้างที่ได้รับอนุญาตให้ใช้และสามารถพบเจอได้บ่อยในชีวิตทั่วไป ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มาเช็กลิสต์ได้เลย สารปรุงแต่งอาหารที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารตามปริมาณเหมาะสม แซ็กคาริน (Saccharin) หรือดีน้ำตาล กลุ่มสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ช่วยเพิ่มรสชาติหวานให้กับอาหารสูงกว่าน้ำตาล 300-500 เท่า โซเดียมไซคลาเมต (Sodium Cyclamate) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีความหวานกว่าน้ำตาลทราย 30-50

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เคมีอาหารในกระบวนการผลิตของโรงงาน
ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้เคมีในอาหารที่สั่งจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารเข้ามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของกระบวนการผลิตเพื่อให้สินค้าออกมาตรงตามความต้องการทั้งเรื่องสีสัน กลิ่น รสชาติ ไปจนถึงอายุของอาหารเหล่านั้น แต่ต้องอยู่ภายใต้ปริมาณตามที่ข้อกฎหมายได้มีการกำหนดเอาไว้ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเคมีอาหารดังกล่าวก็ประกอบไปด้วยหลายประการ ลองมาศึกษาข้อมูลกันได้เลย ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เคมีในอาหารของโรงงานผลิตอาหาร 1. วัตถุประสงค์ในการใช้สารเคมีในอาหาร ปัจจัยแรกของการจะสั่งเคมีอาหารจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารย่อมหนีไม่พ้นวัตถุประสงค์ที่ผู้ผลิตอาหารต้องการนำไปใช้เพื่อให้สินค้าออกมาน่าพึงพอใจ โดยสามารถแบ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมได้ ดังนี้ – การใช้งานเพื่อยืดอายุอาหารให้ยาวนานขึ้น เช่น อาหารแปรรูปต่าง ๆ อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ผลผลิตทางการเกษตรอายุสั้น

Phosphate for Seafood : The Delicious Secret Formula That Prolongs the Life of Seafood
For professionals in the seafood industry, phosphates are among the most effective ingredients for preserving freshness and quality. Since the mid-20th century, Phosphate for seafood

เคมีอาหาร คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับอุตสาหกรรมอาหาร
ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาหารมาอย่างยาวนาน เคมีอาหารจึงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารด้วยเช่นกัน มีหลายธุรกิจอาหารเลือกซื้อสินค้าจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารเพื่อใช้กับสินค้าของตนเอง คำถามที่เป็นข้อสงสัยจึงหนีไม่พ้นว่าเคมีอาหาร คืออะไร สำคัญต่ออุตสาหกรรมนี้มากน้อยแค่ไหน เคมีอาหาร คืออะไร? เคมีอาหาร คือ สารที่ถูกผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีทางเคมีจากนักเคมีที่มีความเชี่ยวชาญ มีจุดประสงค์สำคัญในการใช้สำหรับถนอมอาหาร ป้องกันการบูดเน่าเสียหาย ช่วยยืดอายุอาหารให้อยู่ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงยังมักใช้เพื่อแต่งกลิ่น แต่งรสชาติอาหารบางประเภทเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อผู้บริโภค เป็นสารเคมีปลอดภัยที่สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ในปริมาณเหมาะสม เคมีในอุตสาหกรรมอาหาร ต่างจากเคมีในอุตสาหกรรมอื่นอย่างไร? การใช้งานเคมีในอุตสาหกรรมอาหารจะต้องมั่นใจว่ามนุษย์สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อทานในปริมาณเหมาะสม รวมถึงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ แม้กระทั่งการสูดดม ซึ่งต่างจากเคมีในอุตสาหกรรมทั่วไปที่บ่อยครั้งถูกพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ของการใช้งานทางด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ

ทำความรู้จัก สารปรุงแต่งอาหาร (Flavors and Enhancers) มีอะไรบ้าง ปลอดภัยไหม
ในการทำอาหารเพื่อให้ได้รสชาติที่น่าพึงพอใจ ตอบโจทย์ความอร่อย รวมถึงกลิ่นอันแสนเย้ายวนจำเป็นต้องมีการใช้ “สารปรุงแต่งอาหาร” หรือ Flavors and Enhancers เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ใช่แค่ขณะที่นำวัตถุดิบมาปรุงเท่านั้น แต่กับอุตสาหกรรมอาหารยังหมายถึงการนำสารเหล่านี้มาผสมเข้ากับวัตถุดิบหรือสินค้ากลุ่มอาหารต่าง ๆ เพื่อออกวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกด้วย แล้วสารปรุงแต่งต่าง ๆ มีอะไรบ้าง ปลอดภัยแค่ไหน มาหาข้อมูลกันเลย สารปรุงแต่งอาหาร (Flavors and Enhancers) คืออะไร? สารปรุงแต่งอาหาร หรือ