พีเอสโอ พีเอสโอ

พีเอสโอ พีเอสโอ

การป้องกันสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร ความท้าทายที่โรงงานผลิตอาหารต้องเจอ

การทำธุรกิจประเภทโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหาร หนึ่งในปัญหาที่มักพบเจอและสร้างความน่ากังวลใจอยู่บ่อยครั้งนั่นคือ “การเกิดสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร” เปรียบได้กับจุดด้อยที่ต้องรีบหาวิธีจัดการป้องกันความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทั้งเรื่องของคุณภาพสินค้า ผลกระทบต่อผู้บริโภค ความท้าทายของโรงงานผู้ผลิตและนำเข้าที่ต้องใส่ใจทุกขั้นตอน ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุดังกล่าว ที่มาของสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร หากลองมองไปถึงที่มาหรือจุดเริ่มต้นของการเกิดสารปนเปื้อนทางเคมีอาหาร ส่วนใหญ่มักเกิดจากสิ่งแปลกปลอม เชื้อโรคต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับวัตถุดิบสำหรับใช้ในการผลิตเป็นสารปรุงแต่งหรือเคมีอาหาร เช่น  ความท้าทายและมาตรฐานป้องกันสารปนเปื้อนเคมีอาหารของโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหาร จากที่มาของสารปนเปื้อนทางเคมีอาหารเหล่านั้นถือเป็นความท้าทายที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องวางแผน จัดการระบบป้องกัน ตรวจสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าจะช่วยลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดระหว่างขั้นตอนการผลิตหรือการจัดเก็บมากที่สุด โดยมาตรการเบื้องต้นที่อยากแนะนำให้ลองนำไปปรับใช้ มีดังนี้ ในฐานะที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารจึงเสมือนเป็นหัวเรื่องใหญ่ในการดูแลด้านสุขอนามัยของสินค้าต่อผู้บริโภค จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าย่อมมีบทบาทในการควบคุม วางแผน และดำเนินการเพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก หรือแม้แต่เคมีอาหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในปริมาณมากเกินไป เพื่อสร้างระบบการผลิตและจำหน่ายที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค ไม่สร้างอันตรายหรือผลข้างเคียงใด ๆ ภายหลัง

ทริคดี ๆ ในการใช้สารปรุงแต่งอาหารที่ผู้ประกอบการต้องรู้

สารปรุงแต่งอาหาร คือ วัตถุดิบที่ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้ในการปรุงรสอาหาร สร้างรสชาติอันน่าพึงพอใจตามความต้องการของผู้บริโภค หรือมีส่วนทำให้อาหารดูน่าทาน ยืดอายุให้ยาวนาน สามารถใช้ได้กับทั้งการปรุงอาหารสด ๆ จากเตา เช่น ร้านอาหาร ครัวเรือนทั่วไป และใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นการรู้จักทริคดี ๆ สำหรับใช้งานอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องใส่ใจ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ไม่ส่งผลเสียต่อทั้งตนเองและผู้บริโภค ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร ประเภทของสารปรุงแต่งอาหาร สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งแต่ละรูปแบบเองก็มีความเหมาะสมต่อการใช้งานแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 1. กลุ่มสารปรุงแต่งที่ไม่สร้างอันตรายต่อร่างกาย  แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ สารปรุงแต่งจากธรรมชาติ เช่น สีผสมอาหารที่ได้จากธรรมชาติ และสารปรุงแต่งผสมสารเคมีที่บริโภคได้ เช่น น้ำตาล น้ำปลา ซอสต่าง ๆ …

หลักเกณฑ์ มาตรฐานพื้นฐานที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องมี

ในการทำธุรกิจโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารไม่ใช่ใครจะดำเนินการก็ได้แต่ต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน รวมถึงเข้าใจระเบียบพื้นฐานที่ทางโรงงานต้องมีเพื่อเป็นการยืนยันถึงคุณภาพทั้งในด้านความปลอดภัยต่อผู้ผลิตที่จะนำไปใช้ส่งต่อจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย และที่สำคัญเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสารเคมีที่ต้องใช้ในอาหารทุกชนิดถูกผลิตและนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ลองมาศึกษากันว่ามาตรฐานเบื้องต้นที่ต้องมีประกอบด้วยอะไรบ้าง หลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารคืออะไร หลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร คือ ตัวกำหนดพร้อมแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยควบคุม ป้องกัน ไม่ให้ปัจจัยอื่นใดสร้างความอันตรายให้กับอาหารตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างวัตถุดิบ กระบวนการผลิตอาหาร ส่งต่อจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรงจำเป็นต้องมีสิ่งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงมาตรฐานของโรงงาน หลักเกณฑ์พื้นฐานที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องมี 1. มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) ถือเป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าทุกประเภทที่ผู้บริโภคต้องสัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกาย ควบคุมกระบวนการผลิตอาหาร ยา เครื่องสำอาง และสินค้าประเภทอื่น ๆ สร้างความมั่นใจว่าโรงงานดังกล่าวทำได้อย่างเหมาะสม 2. มาตรฐาน HACCP (Hazard Analysis and Critical Control Point System) มาตรฐานระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP คือ…

สารปรุงแต่งอาหารที่อนุญาตให้ใส่ในอาหาร และพบได้บ่อยทั่วไป

ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้งานสารปรุงแต่งอาหารเพื่อช่วยในเรื่อง สี กลิ่นและรสชาติ ทั้งเป็นการเพิ่มขึ้นมาใหม่ หรือกระตุ้นสิ่งที่มีอยู่เดิมจากวัตถุดิบให้โดดเด่นมากขึ้นก็ตาม มากไปกว่านั้นยังมีส่วนช่วยถนอมอาหารได้อีกด้วย คำถามคือมีสารปรุงแต่งประเภทไหนบ้างที่ได้รับอนุญาตให้ใช้และสามารถพบเจอได้บ่อยในชีวิตทั่วไป ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มาเช็กลิสต์ได้เลย สารปรุงแต่งอาหารที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารตามปริมาณเหมาะสม แซ็กคาริน (Saccharin) หรือดีน้ำตาล กลุ่มสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ช่วยเพิ่มรสชาติหวานให้กับอาหารสูงกว่าน้ำตาล 300-500 เท่า โซเดียมไซคลาเมต (Sodium Cyclamate) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีความหวานกว่าน้ำตาลทราย 30-50 เท่า อัลลูร่า เรด (Allura Red) และสารสังเคราะห์สีแดง จัดอยู่ในกลุ่มของสีผสมอาหารใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร ขนม เครื่องดื่ม โซเดียมซัลไฟต์ (Sodium Sulfite) จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุกันหืนและสารกันเสีย นิยมใช้กับอาหารแปรรูปแทบทุกประเภท และมีเป็นส่วนผสมกรรมวิธีการหมักเบียร์หรือไวน์ด้วย…

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เคมีอาหารในกระบวนการผลิตของโรงงาน

โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารทะเล

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้เคมีในอาหารที่สั่งจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารเข้ามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของกระบวนการผลิตเพื่อให้สินค้าออกมาตรงตามความต้องการทั้งเรื่องสีสัน กลิ่น รสชาติ ไปจนถึงอายุของอาหารเหล่านั้น แต่ต้องอยู่ภายใต้ปริมาณตามที่ข้อกฎหมายได้มีการกำหนดเอาไว้ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเคมีอาหารดังกล่าวก็ประกอบไปด้วยหลายประการ ลองมาศึกษาข้อมูลกันได้เลย ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เคมีในอาหารของโรงงานผลิตอาหาร 1. วัตถุประสงค์ในการใช้สารเคมีในอาหาร ปัจจัยแรกของการจะสั่งเคมีอาหารจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารย่อมหนีไม่พ้นวัตถุประสงค์ที่ผู้ผลิตอาหารต้องการนำไปใช้เพื่อให้สินค้าออกมาน่าพึงพอใจ โดยสามารถแบ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมได้ ดังนี้ –          การใช้งานเพื่อยืดอายุอาหารให้ยาวนานขึ้น เช่น อาหารแปรรูปต่าง ๆ อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ผลผลิตทางการเกษตรอายุสั้น สามารถเก็บไว้ได้ยาวนานโดยไม่บูดเน่าเสียหาย สามารถส่งขายได้ตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ทั้งในและต่างประเทศ –          การใช้งานเพื่อปรับปรุงรสชาติอาหาร ด้วยอาหารหลายชนิดเมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตแล้วต้องมีการปรับปรุงรสชาติ กลิ่น หรือสีให้สวยงาม ดึงดูดใจ น่าทาน และอร่อยมากขึ้น จึงต้องนำสารปรุงแต่งอาหารเข้ามาเป็นตัวช่วย…

เคมีอาหาร คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับอุตสาหกรรมอาหาร

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาหารมาอย่างยาวนาน เคมีอาหารจึงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารด้วยเช่นกัน มีหลายธุรกิจอาหารเลือกซื้อสินค้าจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารเพื่อใช้กับสินค้าของตนเอง คำถามที่เป็นข้อสงสัยจึงหนีไม่พ้นว่าเคมีอาหาร คืออะไร สำคัญต่ออุตสาหกรรมนี้มากน้อยแค่ไหน เคมีอาหาร คืออะไร? เคมีอาหาร คือ สารที่ถูกผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีทางเคมีจากนักเคมีที่มีความเชี่ยวชาญ มีจุดประสงค์สำคัญในการใช้สำหรับถนอมอาหาร ป้องกันการบูดเน่าเสียหาย ช่วยยืดอายุอาหารให้อยู่ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงยังมักใช้เพื่อแต่งกลิ่น แต่งรสชาติอาหารบางประเภทเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อผู้บริโภค เป็นสารเคมีปลอดภัยที่สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ในปริมาณเหมาะสม เคมีในอุตสาหกรรมอาหาร ต่างจากเคมีในอุตสาหกรรมอื่นอย่างไร? การใช้งานเคมีในอุตสาหกรรมอาหารจะต้องมั่นใจว่ามนุษย์สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อทานในปริมาณเหมาะสม รวมถึงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ แม้กระทั่งการสูดดม ซึ่งต่างจากเคมีในอุตสาหกรรมทั่วไปที่บ่อยครั้งถูกพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ของการใช้งานทางด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ หากมนุษย์สูดดม หรือได้รับสารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายแม้เพียงปริมาณเล็กน้อยก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ธุรกิจแวดวงอาหารต้องสั่งซื้อเคมีอาหารจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพเท่านั้น ทำไมในอุตสาหกรรมอาหารถึงต้องมีการใช้เคมีอาหาร? เหตุผลสำคัญที่อุตสาหกรรมอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้เคมีอาหารเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในขั้นตอนการผลิตหลัก ๆ แล้วแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ใช้เพื่อเพิ่มรสชาติ เพิ่มหรือดับกลิ่นของอาหารชนิดนั้น ๆ ให้เกิดความเหมาะสม ผู้บริโภคพึงพอใจ…

ทำความรู้จัก สารปรุงแต่งอาหาร (Flavors and Enhancers) มีอะไรบ้าง ปลอดภัยไหม

ในการทำอาหารเพื่อให้ได้รสชาติที่น่าพึงพอใจ ตอบโจทย์ความอร่อย รวมถึงกลิ่นอันแสนเย้ายวนจำเป็นต้องมีการใช้ “สารปรุงแต่งอาหาร” หรือ Flavors and Enhancers เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ใช่แค่ขณะที่นำวัตถุดิบมาปรุงเท่านั้น แต่กับอุตสาหกรรมอาหารยังหมายถึงการนำสารเหล่านี้มาผสมเข้ากับวัตถุดิบหรือสินค้ากลุ่มอาหารต่าง ๆ เพื่อออกวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกด้วย แล้วสารปรุงแต่งต่าง ๆ มีอะไรบ้าง ปลอดภัยแค่ไหน มาหาข้อมูลกันเลย สารปรุงแต่งอาหาร (Flavors and Enhancers) คืออะไร? สารปรุงแต่งอาหาร หรือ Flavors and Enhancers คือ สารที่ถูกนำมาใช้ในการปรุงเพื่อให้อาหารเกิดรสชาติและกลิ่นตามแบบที่ผู้ผลิตหรือผู้ทำอาหารต้องการ เมื่อผู้บริโภคได้สัมผัสกลิ่นหรือทานเข้าไปแล้วรู้สึกดี หอมหวล รสชาติอร่อย ซึ่งสารปรุงแต่งดังกล่าวมีด้วยกันหลายรูปแบบ แบ่งตามประเภทดังนี้ 1. สารปรุงแต่งที่ได้จากธรรมชาติ เป็นสารปรุงแต่งที่ได้จากพืชโดยตรงแล้วผ่านการแปรสภาพเล็กน้อยอย่างการทำให้แห้ง การบด ส่วนใหญ่มักได้จากสมุนไพรและพืชผักต่าง…