สารปรุงแต่งอาหารที่อนุญาตให้ใส่ในอาหาร และพบได้บ่อยทั่วไป

ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้งานสารปรุงแต่งอาหารเพื่อช่วยในเรื่อง สี กลิ่นและรสชาติ ทั้งเป็นการเพิ่มขึ้นมาใหม่ หรือกระตุ้นสิ่งที่มีอยู่เดิมจากวัตถุดิบให้โดดเด่นมากขึ้นก็ตาม มากไปกว่านั้นยังมีส่วนช่วยถนอมอาหารได้อีกด้วย คำถามคือมีสารปรุงแต่งประเภทไหนบ้างที่ได้รับอนุญาตให้ใช้และสามารถพบเจอได้บ่อยในชีวิตทั่วไป ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มาเช็กลิสต์ได้เลย

สารปรุงแต่งอาหารที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารตามปริมาณเหมาะสม

แซ็กคาริน (Saccharin) หรือดีน้ำตาล กลุ่มสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ช่วยเพิ่มรสชาติหวานให้กับอาหารสูงกว่าน้ำตาล 300-500 เท่า

โซเดียมไซคลาเมต (Sodium Cyclamate) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีความหวานกว่าน้ำตาลทราย 30-50 เท่า

อัลลูร่า เรด (Allura Red) และสารสังเคราะห์สีแดง จัดอยู่ในกลุ่มของสีผสมอาหารใช้กับอุตสาหกรรมอาหาร ขนม เครื่องดื่ม

โซเดียมซัลไฟต์ (Sodium Sulfite) จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุกันหืนและสารกันเสีย นิยมใช้กับอาหารแปรรูปแทบทุกประเภท และมีเป็นส่วนผสมกรรมวิธีการหมักเบียร์หรือไวน์ด้วย

กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) สารปรุงแต่งอาหารอีกประเภทที่มักใช้งานเพื่อเป็นส่วนผสมของสารกันบูดให้กับอาหาร

โซเดียมไนไตรท์ (Sodium Nitrite) กลุ่มสารกันบูดที่ยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย มักพบในอาหารหมักดอง และอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์

กฎหมายควบคุมสารปรุงแต่งอาหารที่ควรรู้

สารปรุงแต่งอาหารทุกประเภทหากใส่ในปริมาณเหมาะสมก็ไม่ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นี่จึงทำให้กฎหมายของไทยต้องออกมาประกาศควบคุมการใช้งานของอุตสาหกรรมอาหารให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม ลดความเสี่ยงต่ออันตรายผู้บริโภคที่จะเกิดขึ้น ซึ่งตัวอย่างกฎหมายน่าสนใจ มีดังนี้

  • วัตถุเจือปนที่จะถูกนำมาใช้กับอาหารต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานตามกำหนดข้อประกาศต่าง ๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข องค์การอาหารและยา ที่มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กาหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ไว้ดังนี้
  • มีการแสดงฉลากส่วนผสมต่าง ๆ บนบรรจุภัณฑ์เพื่อบ่งบอกข้อมูลกับผู้บริโภคอย่างครบถ้วน ห้ามบิดเบือนเด็ดขาด
  • กระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ว่า อนุญาตให้ใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในปริมาณ ไม่เกิน 50 มก. ถึง ไม่เกิน 500 มก. ขึ้นกับหมวดอาหารที่นำไปประยุกต์ใช้

  • เช่น เบียร์และเครื่องดื่มมอลต์ ิอนุญาตให้ใช้ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในปริมาณ ไม่เกิน 50 มก. และ ผลไม้แห้งอนุญาตให้ใช้ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในปริมาณ ไม่เกิน 500 มก. เป็นต้น
  • กระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ว่า อนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิค ในปริมาณ ไม่เกิน 200 มก. ถึง ไม่เกิน 3,000 มก. ขึ้นกับหมวดอาหารที่นำไปประยุกต์ใช้ เช่น 

  • เครื่องดื่มแต่งกลิ่นรส  อนุญาตให้ใช้ กรดเบนโซอิค ในปริมาณ ไม่เกิน 200 มก.และ ผัก สาหร่ายทะเล นัทและเมล็ด ที่บดและเพื่อใช้ประกอบอาหาร อนุญาตให้ใช้ กรดเบนโซอิค ในปริมาณ ไม่เกิน 3,000 มก.

ข้อควรระวังเกี่ยวกับสารปรุงแต่งอาหาร

ในฝ่ายของผู้ผลิตอุตสาหกรรมอาหารควรมีการใช้งานสารปรุงแต่งอาหารในปริมาณเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้านผู้บริโภคเองควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากระบุข้อมูลต่าง ๆ ชัดเจน และมีตรารับรองจาก อย. เพื่อความมั่นใจ ลดโอกาสเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีอันตรายเข้าสู่ร่างกายมากเกินจำเป็นจนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เลย