ความรู้ทั่วไป 

บทความ

ความรู้ทั่วไป 

ARTCLE

หลักเกณฑ์ มาตรฐานพื้นฐานที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องมี

ในการทำธุรกิจโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารไม่ใช่ใครจะดำเนินการก็ได้แต่ต้องผ่านการรับรองมาตรฐาน รวมถึงเข้าใจระเบียบพื้นฐานที่ทางโรงงานต้องมีเพื่อเป็นการยืนยันถึงคุณภาพทั้งในด้านความปลอดภัยต่อผู้ผลิตที่จะนำไปใช้ส่งต่อจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย และที่สำคัญเพื่อสร้างความมั่นใจว่าสารเคมีที่ต้องใช้ในอาหารทุกชนิดถูกผลิตและนำเข้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ลองมาศึกษากันว่ามาตรฐานเบื้องต้นที่ต้องมีประกอบด้วยอะไรบ้าง หลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารคืออะไร หลักเกณฑ์และมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร คือ ตัวกำหนดพร้อมแนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยควบคุม ป้องกัน ไม่ให้ปัจจัยอื่นใดสร้างความอันตรายให้กับอาหารตลอดห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างวัตถุดิบ กระบวนการผลิตอาหาร ส่งต่อจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารโดยตรงจำเป็นต้องมีสิ่งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงมาตรฐานของโรงงาน หลักเกณฑ์พื้นฐานที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องมี 1. มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) ถือเป็นหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าทุกประเภทที่ผู้บริโภคต้องสัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกาย ควบคุมกระบวนการผลิตอาหาร ยา เครื่องสำอาง และสินค้าประเภทอื่น

Read More »

สารปรุงแต่งอาหารที่อนุญาตให้ใส่ในอาหาร และพบได้บ่อยทั่วไป

ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้งานสารปรุงแต่งอาหารเพื่อช่วยในเรื่อง สี กลิ่นและรสชาติ ทั้งเป็นการเพิ่มขึ้นมาใหม่ หรือกระตุ้นสิ่งที่มีอยู่เดิมจากวัตถุดิบให้โดดเด่นมากขึ้นก็ตาม มากไปกว่านั้นยังมีส่วนช่วยถนอมอาหารได้อีกด้วย คำถามคือมีสารปรุงแต่งประเภทไหนบ้างที่ได้รับอนุญาตให้ใช้และสามารถพบเจอได้บ่อยในชีวิตทั่วไป ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มาเช็กลิสต์ได้เลย สารปรุงแต่งอาหารที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารตามปริมาณเหมาะสม แซ็กคาริน (Saccharin) หรือดีน้ำตาล กลุ่มสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ช่วยเพิ่มรสชาติหวานให้กับอาหารสูงกว่าน้ำตาล 300-500 เท่า โซเดียมไซคลาเมต (Sodium Cyclamate) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น มีความหวานกว่าน้ำตาลทราย 30-50

Read More »
โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารทะเล

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เคมีอาหารในกระบวนการผลิตของโรงงาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้เคมีในอาหารที่สั่งจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารเข้ามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของกระบวนการผลิตเพื่อให้สินค้าออกมาตรงตามความต้องการทั้งเรื่องสีสัน กลิ่น รสชาติ ไปจนถึงอายุของอาหารเหล่านั้น แต่ต้องอยู่ภายใต้ปริมาณตามที่ข้อกฎหมายได้มีการกำหนดเอาไว้ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเคมีอาหารดังกล่าวก็ประกอบไปด้วยหลายประการ ลองมาศึกษาข้อมูลกันได้เลย ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เคมีในอาหารของโรงงานผลิตอาหาร 1. วัตถุประสงค์ในการใช้สารเคมีในอาหาร ปัจจัยแรกของการจะสั่งเคมีอาหารจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารย่อมหนีไม่พ้นวัตถุประสงค์ที่ผู้ผลิตอาหารต้องการนำไปใช้เพื่อให้สินค้าออกมาน่าพึงพอใจ โดยสามารถแบ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมได้ ดังนี้ –          การใช้งานเพื่อยืดอายุอาหารให้ยาวนานขึ้น เช่น อาหารแปรรูปต่าง ๆ อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ผลผลิตทางการเกษตรอายุสั้น

Read More »

เคมีอาหาร คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับอุตสาหกรรมอาหาร

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของอาหารมาอย่างยาวนาน เคมีอาหารจึงถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารด้วยเช่นกัน มีหลายธุรกิจอาหารเลือกซื้อสินค้าจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารเพื่อใช้กับสินค้าของตนเอง คำถามที่เป็นข้อสงสัยจึงหนีไม่พ้นว่าเคมีอาหาร คืออะไร สำคัญต่ออุตสาหกรรมนี้มากน้อยแค่ไหน เคมีอาหาร คืออะไร? เคมีอาหาร คือ สารที่ถูกผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีทางเคมีจากนักเคมีที่มีความเชี่ยวชาญ มีจุดประสงค์สำคัญในการใช้สำหรับถนอมอาหาร ป้องกันการบูดเน่าเสียหาย ช่วยยืดอายุอาหารให้อยู่ได้ยาวนานขึ้น รวมถึงยังมักใช้เพื่อแต่งกลิ่น แต่งรสชาติอาหารบางประเภทเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อผู้บริโภค เป็นสารเคมีปลอดภัยที่สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ในปริมาณเหมาะสม เคมีในอุตสาหกรรมอาหาร ต่างจากเคมีในอุตสาหกรรมอื่นอย่างไร? การใช้งานเคมีในอุตสาหกรรมอาหารจะต้องมั่นใจว่ามนุษย์สามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเมื่อทานในปริมาณเหมาะสม รวมถึงไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ แม้กระทั่งการสูดดม ซึ่งต่างจากเคมีในอุตสาหกรรมทั่วไปที่บ่อยครั้งถูกพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ของการใช้งานทางด้านอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ

Read More »

ทำความรู้จัก สารปรุงแต่งอาหาร (Flavors and Enhancers) มีอะไรบ้าง ปลอดภัยไหม

ในการทำอาหารเพื่อให้ได้รสชาติที่น่าพึงพอใจ ตอบโจทย์ความอร่อย รวมถึงกลิ่นอันแสนเย้ายวนจำเป็นต้องมีการใช้ “สารปรุงแต่งอาหาร” หรือ Flavors and Enhancers เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งไม่ใช่แค่ขณะที่นำวัตถุดิบมาปรุงเท่านั้น แต่กับอุตสาหกรรมอาหารยังหมายถึงการนำสารเหล่านี้มาผสมเข้ากับวัตถุดิบหรือสินค้ากลุ่มอาหารต่าง ๆ เพื่อออกวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคอีกด้วย แล้วสารปรุงแต่งต่าง ๆ มีอะไรบ้าง ปลอดภัยแค่ไหน มาหาข้อมูลกันเลย สารปรุงแต่งอาหาร (Flavors and Enhancers) คืออะไร? สารปรุงแต่งอาหาร หรือ

Read More »

Food Safety สิ่งสำคัญที่โรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารต้องรู้

Food Safety หรือ ความปลอดภัยในอาหารเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม ปัจจัยสำคัญคือเมื่ออาหารหรือเครื่องดื่มออกมาถึงผู้บริโภคแล้วจะต้องไม่สร้างอันตราย ไร้สิ่งปนเปื้อนทั้งจากทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่เหล่าบรรดาโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารจำเป็นต้องศึกษาอย่างละเอียดพร้อมปฏิบัติตามด้วยความเคร่งครัด เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น และลดความเสี่ยงได้แบบรอบด้าน ทำไม Food Safety ถึงมีความสำคัญ? ไม่ว่าผู้บริโภคคนไหนต่างก็คาดหวังสิ่งดีที่สุดจากผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายด้วยกันทั้งสิ้น ยิ่งถ้าเป็นเรื่องอาหารด้วยแล้วการมี Food Safety เปรียบกับการสร้างความน่าเชื่อถือ และเสริมความมั่นใจ เมื่อผู้บริโภคตอบสนองเชิงบวกผลลัพธ์ที่ตามมาย่อมส่งถึงธุรกิจให้เติบโต ดังนั้นเมื่อแบ่งแยกความสำคัญของ Food Safety

Read More »

ทำความรู้จัก “แซ็กคาริน” สารปรุงแต่งอาหารให้ความหวานแทนน้ำตาล

ในแวดวงของอุตสาหกรรมอาหารนอกจากวัตถุดิบหลักแล้วก็ยังมีเรื่องของ “สารปรุงแต่งอาหาร” เพื่อช่วยเพิ่มรสชาติความอร่อยให้ถูกปากถูกใจของผู้บริโภคอีกด้วย ซึ่งกลุ่มสารปรุงแต่งประเภทที่ให้ความหวานถือเป็นหัวใจสำคัญของผลิตภัณฑ์จำนวนมาก นอกจากน้ำตาลแล้วก็มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ และ “แซ็กคาริน” (Saccharin) เองก็จัดอยู่ในหมวดดังกล่าวด้วยเช่นกัน จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกันอย่างละเอียดได้เลย สารปรุงแต่งอาหารให้ความหวานแทนน้ำตาล คืออะไร? สารปรุงแต่งอาหารให้ความหวานแทนน้ำตาล คือ วัตถุเจือปนในอาหารที่ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนน้ำตาลจากธรรมชาติโดยยังสามารถให้รสชาติหวานกับอาหารและเครื่องดื่มได้ตามปกติ ซึ่งบางคนอาจเรียกว่า “น้ำตาลเทียม” ก็ให้ความหมายไม่แตกต่างกันนัก มีทั้งแบบให้พลังงาน เช่น กลุ่มน้ำตาลจากผลไม้ ไซลิทอล ซอร์บิทอล และไม่ให้พลังงาน หรือให้พลังงานต่ำกับร่างกาย

Read More »