ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เคมีอาหารในกระบวนการผลิตของโรงงาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภทจำเป็นต้องใช้เคมีในอาหารที่สั่งจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารเข้ามาเป็นส่วนประกอบหนึ่งของกระบวนการผลิตเพื่อให้สินค้าออกมาตรงตามความต้องการทั้งเรื่องสีสัน กลิ่น รสชาติ ไปจนถึงอายุของอาหารเหล่านั้น แต่ต้องอยู่ภายใต้ปริมาณตามที่ข้อกฎหมายได้มีการกำหนดเอาไว้ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเคมีอาหารดังกล่าวก็ประกอบไปด้วยหลายประการ ลองมาศึกษาข้อมูลกันได้เลย

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้เคมีในอาหารของโรงงานผลิตอาหาร

1. วัตถุประสงค์ในการใช้สารเคมีในอาหาร

ปัจจัยแรกของการจะสั่งเคมีอาหารจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารย่อมหนีไม่พ้นวัตถุประสงค์ที่ผู้ผลิตอาหารต้องการนำไปใช้เพื่อให้สินค้าออกมาน่าพึงพอใจ โดยสามารถแบ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมได้ ดังนี้

–          การใช้งานเพื่อยืดอายุอาหารให้ยาวนานขึ้น เช่น อาหารแปรรูปต่าง ๆ อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป ผลผลิตทางการเกษตรอายุสั้น สามารถเก็บไว้ได้ยาวนานโดยไม่บูดเน่าเสียหาย สามารถส่งขายได้ตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ทั้งในและต่างประเทศ

–          การใช้งานเพื่อปรับปรุงรสชาติอาหาร ด้วยอาหารหลายชนิดเมื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตแล้วต้องมีการปรับปรุงรสชาติ กลิ่น หรือสีให้สวยงาม ดึงดูดใจ น่าทาน และอร่อยมากขึ้น จึงต้องนำสารปรุงแต่งอาหารเข้ามาเป็นตัวช่วย

–          รักษาคุณค่าทางอาหาร มีเคมีอาหารหลายประเภทที่ช่วยรักษาคุณค่าทางอาหารให้ยังคงอยู่แม้ผ่านกระบวนการผลิตต่าง ๆ มาแล้ว ผู้บริโภคสามารถได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายจากวัตถุดิบนั้น ๆ อย่างเหมาะสม เช่น สารฟอสเฟตสำหรับแช่แข็งอาหารทะเลช่วยคงสภาพและรักษาโปรตีนให้คงอยู่

2. คุณสมบัติของสารเคมีอาหารที่ใช้สำหรับโรงงาน

“เคมีอาหาร” ชื่อก็บ่งบอกชัดเจนว่ามีสารเคมีบางประเภทเป็นส่วนประกอบส่งผลให้เกิดคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยป้องกันการเกิดฟองในกระบวนการผลิตน้ำมันพืช หรือน้ำเชื่อมเข้มข้น การใช้สีผสมอาหารช่วยทำให้สีสันของอาหารดูสด สวยงาม การใช้แซ็คคารินทดแทนความหวานของน้ำตาลแท้จากธรรมชาติ เป็นต้น การจะสั่งเคมีอาหารจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารจึงต้องประเมินความเหมาะสมจากคุณสมบัติที่จะนำมาใช้งานเสมอ

3. ประเภทของวัตถุดิบที่ต้องใช้เคมีอาหาร

ปัจจัยสุดท้ายเป็นเรื่องของวัตถุดิบบางประเภทที่ต้องมีการใช้เคมีอาหารในกระบวนการผลิตเพื่อจุดประสงค์ต่าง ๆ เช่น ผลผลิตทางการเกษตรที่มีอายุสั้น ต้องใช้สารกลุ่มกันเสีย กันบูด เพื่อทำให้อาหารอยู่ได้ยาวนานขึ้น สารฟอสเฟตสำหรับแช่แข็งในอาหารทะเลช่วยคงสภาพวัตถุดิบและรักษาโปรตีนไม่ให้ลดปริมาณลงเมื่อผู้บริโภคนำมาทาน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ยังต้องเน้นย้ำเสมอสำหรับอุตสาหกรรมอาหารทุกประเภทนั่นคือการใช้เคมีอาหารต้องอยู่ปริมาณเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภค รวมถึงควรสั่งจากโรงงานผลิตและนำเข้าเคมีอาหารที่ได้มาตรฐาน ไม่มีส่วนผสมของสารอันตรายเมื่อเข้าสู่ร่างกายผู้บริโภคในทันทีด้วย